ทำความรู้จัก "เซลล์อักเสบ" มัจจุราชร้าย ทำลายกระดูกสันหลัง

28 ต.ค. 2024 | By richy | Viewer 39

นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์
 เผยว่า เซลล์อักเสบ (Cellular Inflammation)

คือ กระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อการบาดเจ็บ การใช้งานมากเกินไป หรือ การติดเชื้อ
โดยระบบภูมิคุ้มกันจะส่งสารเคมีอย่างไซโตไคน์ (Cytokines) และพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins)
มายังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้เกิด อาการบวม แดง และเจ็บปวด กระบวนการนี้ช่วยให้เนื้อเยื่อที่ได้
รับความเสียหายได้รับการซ่อมแซมและป้องกันการติดเชื้อ หากปล่อยไว้นาน จนเรื้อรังจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อ
เสียหายมากขึ้น เกิดการสะสมของแคลเซียม และทำให้เกิดกระดูกงอก ซึ่งจะนำไปสู่การกดทับเส้นประสาท 
นพ.ชุมพล ยังเผยถึง พฤติกรรมเสี่ยง “เซลล์อักเสบ” ในกระดูกสันหลัง ว่าการใช้ชีวิตประจำวัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้
เกิดการอักเสบในกระดูกสันหลัง คือ การนั่ง หรือ ยืนท่าเดิม เป็นเวลานาน การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การก้มหน้าเล่นมือถือ หรือ การยืนในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังเกิดการ
ตึงเครียดและบาดเจ็บซ้ำ ๆ  การใช้งานกล้ามเนื้อเกินกำลัง: การยกของหนัก หรือการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป
ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้รับความเสียหาย  ภาวะข้อกระดูกสันหลังเสื่อม: การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกและข้อต่อ
ทำให้เกิดการเสียดสีของข้อต่อที่กระดูกสันหลัง ซึ่งจะกระตุ้นการอักเสบและอาการปวดเรื้อรัง 
อ่านข่าวเพิ่มเติม

การยกของหนัก หรือ การนั่งในท่าเดิมๆ เกิน  2 ชั่วโมง ทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากเกินไป   (Overload)
และมีการกดทับ จนเกิดอาการเสื่อมและอักเสบ เนื่องจากกระดูกสันหลังไม่ได้ถูกออกแบบ มาเพื่อรับน้ำหนัก
ส่วนเกินหากเปรียบเทียบกับนักยกน้ำหนัก จากที่เคยยกได้ 10 กิโลกรัม เปลี่ยนมายก 100 กิโลกรัมร่างกาย
จะไม่สามารถ รับน้ำหนักส่วนเกินได้ทันที อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยที่ถูกต้องมีความสำคัญ ต่อการทราบสาเหตุ
ที่แท้จริง ของอาการปวดหลัง เช่น การทดสอบทางกายภาพ หรือ การใช้เครื่อง MRI หรือ เอกซเรย์เพื่อดูโครงสร้าง
ของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก และเนื้อเยื่อรอบ ๆ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด 
ปัจจุบันการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มารักษาผู้ป่วย ที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง หรือ ปวดต้นคอท้ายทอย มานาน
แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง ด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic
Cervical Decompression) เพื่อการรักษา แต่หากหมอนรองกระดูกส่วนคอ เกิดการปลิ้น อย่างรุนแรงกดไขสันหลัง หรือ
เสื่อมสภาพ แพทย์จะเลือกใช้เทคนิค Endoscopic ACDF เพื่อการผ่าตัดหมอนรองกระดูกส่วนคอ  ด้วยกล้องเอ็นโดสโคป
แบบแผลเล็กเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอ นำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมาขณะที่ ผู้ป่วยที่มีอาการโพรง
เส้นประสาทกระดูกส่วนหลัง ส่วนเอวตีบแคบ หรือ หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา การรักษาด้วยเทคนิค PSLD เป็นอีกวิธีที่
จะช่วยลดการกดทับเส้นประสาท โดยไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ เนื่องจากแพทย์ จะเจาะรูขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม.
ที่ผิวหนังบริเวณหลังแล้วสอดกล้องเอ็นโดสโคปเข้าไปยังจุดที่มีปัญหา และเลือกตัดเฉพาะส่วนที่กดทับเส้นประสาท